ClubJZ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนที่ใช้งานเครื่องยนต์ JZ ทุกรุ่น เพื่อที่จะใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างกันโดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใดๆ เราหวังว่า คงจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่กำลังหาข้อมูล และผู้ที่มีปัญหาในการ ใช้งาน เครื่อง JZ ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งสำคัญที่สุด ที่ทุกๆคนจะได้จาก ClubJZ นี้นั่นคือ มิตรภาพที่เรามีให้กับทุกๆท่านครับ.

Loading
Search In ClubJZ.net


กลับไป   ClubJZ Forums > ClubJZ ! Main Forums > ClubJZ! Useful Information
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน กระทู้ใหม่วันนี้
ประชาสัมพันธ์ ClubJZ!

1. Login สีส้ม และสีฟ้าไม่อนุญาติให้มีลายเซ็นตั้งแต่วันที่ 07/09/09 เป็นต้นไป

2. ขอเชิญ ผู้ใช้งาน ที่ Login เป็นสีส้ม มาแนะนำตัว ( ชื่อ,รถ,เครื่องยนต์ และเบอร์ติดต่อ) เพื่อเปลี่ยนมาเป็น ClubJZ Member ที่นี่ ครับ

3. User ที่สมัครใหม่ รอ Activate ผ่าน Email ทีกรอกมาด้วยนะครับ User นั้นถึงจะใช้งานได้ ครับ



ClubJZ! Useful Information คลังเก็บกระทู้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเครื่องยนต์ JZ! ครับ

ตอบกลับ
 
คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
เก่า 09-11-2009, 15:49   #1
IamArt
Senior Member
 
รูปส่วนตัว IamArt
 
วันที่สมัคร: Sep 2008
Car Brand: C-Class W202
Engine Type: 1JZ-GTE
ที่อยู่: Rungsit
กระทู้: 25
Thanks: 112
Thanked 34 Times in 13 Posts
คะแนน: 0 IamArt is on a distinguished road
A/F (Air/Fuel Ratio) ที่เหมาะสมกับสำหรับ 1J BO

ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับค่า A/F ที่เหมาะสม หากเราจูนปรับสัดส่วนของเชื้อเพลิงในแต่ละช่วง load ของเครื่องยนต์เพื่อให้ได้กำลัง(ม้า)สูงสุดโดยไม่ได้ คำนึงถึงเรื่องความประหยัด ค่านั้นควรจะเป็นเท่าไหร่ ทำไมค่า A/F = 14.7 จึงเป็นค่าที่ถูกพูดถึงกันมาก เพราะจากที่ผมเคยรู้ๆมาคือ หากต้องการจูนให้รถวิ่งดีขึ้น ลื่นขึ้น ต้องตั้งองศาไฟสูง(ไฟแก่)และจูนเชื้อเพลิงให้ ” บาง ” พอเหมาะ(ซึ่งน่าจะค่าสูงกว่า 14.7)โดยต้องไม่ทำให้เกิดอาการน็อค แต่กูรูบางท่านก็เคยบอกว่า “จูนเนอร์ที่เก่งต้องจูนให้วิ่งดีที่ไฟไม่แก่มา ก” ทำเอาสับสนไปพอประมาณ

ยิ่งพอได้อ่านบทความของอ.ศิริบูรณ์ (ผมแนบไฟล์มาให้อ่านกันด้วย ที่มาให้เครดิตกับ Thaidriver Magazine คับ) ผมสรุปเอาเองไปว่า ค่าที่เหมาะสมที่อ.ศิริบูรณ์กล่าวถึงคือที่ A/F = 12.5 ซึ่งอาจเป็นค่าที่ให้กำลังสูงสุด โดยที่ค่า A/F = 14.7 นั้นเป็นเพียงค่าที่ clean air หรือเป็นอัตราส่วนที่ค่าไอเสียสะอาด เกิดสันดาปเป็นละอองน้ำเท่านั้น หาได้เหมาะสมกับการรีดกำลังแรงม้าไม่ แต่ทั้งนี้ในบทความก็ไม่ได้กล่าวถึงการตั้งไฟไว้ด้วย

ผมกำลังจะใส่กล่องเพื่อจูนเล่นเอง โดยเครื่องทุกอย่างเดิมๆ เลยมีข้อสงสัยบางประการคือ

1.หากจูนกล่อง piggy back อย่างพวก e-manage โดยใช้กับ Gasoline95(ก็น้ำมันเบนซิล95 ทั่วไปนั้นแหละ) เราสามารถตั้งให้จ่ายน้ำมันในสัดส่วน 12.5 ตลอดได้หรือไม่ เพราะในบทความกล่าวคล้ายกะว่าเพียงเพิ่มน้ำมันให้หนา ขึ้นหน่อยเดียว ก็ได้แรงม้าเพิ่มขึ้นแล้ว

2.กรณีใช้ piggy back จูนไฟให้แก่ขึ้นเพื่อใช้วิ่งกะ LPG หัวฉีด(พวก KME Gold)โดยเอาน้ำมันไว้ warm เครื่องเท่านั้น ค่าที่เหมาะสมของ A/F ควรจะเป็นเท่าไหร่ ยังคงอยู่ที่ 12.5 หรือเปล่าเพราะผมรู้คร่าวๆว่า LPG มีค่า clean air ที่ A/F = 15.5 แล้วอัตราเร่งเมื่อเทียบกับน้ำมัน จะเป็นอย่างไรคับ

อีกอันนี้ที่สงสัย กรณีที่ค่าA/F หนาๆ มันเหมาะสมกับ LPG ด้วย ทำไมถ้าจูนแก๊สบางเราจึงรู้สึกว่ารถวิ่งดีกว่าละคับ เพราะถ้าจูนหนารถจะอืดๆไปพอสมควร อันนี้ในกรณีที่วิ่งทางยาวๆ แบบมีเร่งแซงหรือติดบูสบ้างนะคับ

ขอคำชี้แนะด้วยคับ
รูป
ชนิดของไฟล์: pdf 85_siriboon.pdf (465.9 KB, ดาวน์โหลด 316 ครั้ง)
ชนิดของไฟล์: pdf 86_siriboon.pdf (656.7 KB, ดาวน์โหลด 182 ครั้ง)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย IamArt : 09-11-2009 เมื่อ 17:47.
IamArt is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 5 Users Say Thank You to IamArt For This Useful Post:
idea_nova (22-11-2011), jo13 (10-11-2009), kangboss244 (11-11-2009), paithoon (11-11-2009), WHEGA (11-11-2009)
เก่า 09-11-2009, 16:24   #2
apile
Member
 
วันที่สมัคร: Dec 2008
กระทู้: 35
Thanks: 36
Thanked 87 Times in 27 Posts
คะแนน: 0 apile is on a distinguished road
มันจะติด Closeloop นะสิครับ
apile is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 2 Users Say Thank You to apile For This Useful Post:
IamArt (09-11-2009), jo13 (10-11-2009)
เก่า 09-11-2009, 18:02   #3
vampire258
ClubJZ Full Member 2556
 
รูปส่วนตัว vampire258
 
วันที่สมัคร: Nov 2006
Car Brand: A31
Engine Type: 1JZ-GT
ที่อยู่: Ladkrabang50 Racing Garage
กระทู้: 460
Thanks: 145
Thanked 262 Times in 138 Posts
คะแนน: 18 vampire258 is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง vampire258
อยากใช่ E มาเนจ ปรับไฟเหมือนกันครับ

แก๊สเท่าที่จูน มันวิ่งไม่ได้เท่าน้ำมันอะครับ

จูนบางก็วิ่งเหี่ยวๆ จูนหนาก็ท่วม ซะงั้น

ต้องพอดีๆ แต่ไม่ดึงเท่าน้ำมันอยุ่ดี


เลยอยากเล่นกะองศาไฟจุดระเบิดบ้าง
__________________


TUNE BY KONG



Click here >>> ธนพัฒน์แบตเตอรี่ นวมินทร์ ราคาถูก

สนใจสอบถามได้ 086-6632557,089-4424488
vampire258 is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following User Says Thank You to vampire258 For This Useful Post:
IamArt (09-11-2009)
เก่า 09-11-2009, 19:30   #4
retro_boy
ClubJZ Old Full Member
 
รูปส่วนตัว retro_boy
 
วันที่สมัคร: Oct 2007
Car Brand: ISUZU-TFR
Engine Type: 1JZ-GTE
ที่อยู่: กรุงเทพ-ปทุมธานี
กระทู้: 183
Thanks: 18
Thanked 422 Times in 77 Posts
คะแนน: 17 retro_boy is on a distinguished road
AF ratio คืออัตราส่วนผสม ระหว่างน้ำมันและอากาศ
โดยอัตรา ส่วนผสมที่ดีแลกเหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ดีที่สุดคือ 14.7 : 1(ตำราเขาว่าอย่างนั้นน่ะครับ)

โดยแปลความหมายดังนี้

14.7 คือปริมาณอากาศ 14.7 ส่วน ต่อน้ำมันเชื้อเพลิง 1 ส่วน

โดยค่าพลังงานที่เหมาะสมหรือค่า Clean ของแต่ละเชื้อเพลิงจะไม่เท่ากันนะครับ

เช่น เบนซินก็จะ 14.7 LPG จะ 15.5-16.5 โดยประมาณนะครับ ไนโตรมีเทนก็อีกอย่าง แอลกอฮอลล์ก็อีกอย่าง

ดังนั้นค่ากำลังงาน จึงไม่เท่ากันแต่ที่ จขกท สงสัยว่าค่ากำลังงานสูงสุดน่าจะมาจากอันนี้ครับ

เครื่องยนต์เทอร์โบ จะมีการเผาไหม้ที่ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควรนะครับหรือเ รียกว่า แบบแปรผันได้ตามแรงปริมาณอากาศ(เทอร์โบ อัดเข้า) จึงขอแบ่งการทำงานเป็น 2 ช่วงนะครับ

1.ช่วงใช้งาน ตั้งแต่รอบเดินเบาไปถึง เริ่มติดบูสท์.....ช่วงนี้ล่ะครับที่จะต้องใช้การวัด ส่วนผสมโดย อัตรที่ใช้คือ 14.7 เป็นเกณฑ์ เพราะจะเผาไหม้ได้ดีที่สุ ุดและให้กำลังเครื่องยนต์พอเหมาะ เพราะถ้าหนาไปจะือืด บางไปก็จะไม่มีกำลัง

2.ช่วงติดบูสท์ (กรณีรถปรับแต่งเครื่องยนต์)ช่วงนี้ล่ะครับ สำคัญโดยส่วนมากมักจะปรับให้หนาไว้ก่อนเพื่อที่จะต้อ งการปริมาณไอเสียมากๆไปปั่น เทอร์ไบน์เพื่อเรียกบูสท์ เพื่อให้บูสท์มาเร็วขึ้นโดยจะปรับไว้หนาหน่อยประมาร 12 -13 กว่าๆ จนไปถึง รอบสูงสุดทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการ Knock ซึง่อาจเกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่นเขี้ยวหัวเทียนละลาย ลุกสูบร้อนจัด ความร้อนสะสมจากการสันดาบ จึงต้องกันไว้ก่อนนะครับ ตรงนี้และเป็นการเซฟเครื่องยนต์ไว้ด้วยครับ ซึ่งจากสาเหตุตรงนี้ที่ จขกท ถามมาแน่ๆเลยครับเพราะส่วนมาก รถที่บูสท์หนักๆ มักจะปรับไว้หนาๆในรอบปลายครับเพราะเหตุผลแบบนี้ล่ะค รับ

ส่วนมันจะได้สูงสุดมั้ย อันนี้ ไม่แน่ใจครับเพราะค่าที่ให้กำลังสูงสุดของแต่ละเครื่ องให้กำลังไม่เท่ากันนะครับ โดนส่วยมากผมก็มักจะใช้ 14.7 เป็นเกณฑ์ครับ เพียงแต่เวลาที่ติดบูสท์แล้วเนี่ย 12 กว่าๆคือเผื่อไว้ครับ(เกิดฉุกเฉิน จะได้ไม่พัง น้ำมันหนาเหลือดีกว่าขาด ครับ) แต่ที่เขาเค้นจริงๆคือ 13-14.7 หรือ 1 แลมด้านั่นเองครับ

เพราะบางครั้งจูนตามตำรา 14.7 แล้วอาจได้ม้าซัก 560 ม้าแต่พอเอาน้ำมันหนาหน่อย อาจจะได้ 590 ม้าแต่วิ่งจริงจะหนืดหน่อย ก้เอาล่ะครับถ้าต้องการม้าเยอะ....อย่าลืมนะครับว่าร ถแข่งกับรถใช้งานคนละเรื่องกัน รถแข่งต้องการม้าเยอะแต่รถใช้งานต้องการแรงบิดรอบต่ำ และความ Smooth ของเครื่องยนต์ครับ(ขับง่ายประหยัด ทนทาน ทำนองนั้นอ่ะครับ)

ส่วนเรื่องจูนเนอร์ที่จูนแล้วไฟอ่อนวิ่งดีแสดงว่าเก่ งนั้น อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับเพราะเป็นเทคนิคขิงแต่ละท่านค รับเพียงแต่เท่าที่ผมเคยลองมา ไฟจุดระเบิดเนี่ยล่ะครับเป็นตัวกำหนดทั้งแรงม้าและแร งบิดยิ่งแก่มากเครื่อง ยิ่งมีอัตรเร่งที่ดีเยี่ยมครับเพียงแต่ ต้องระวังเรื่องส่วนผสม AF ratio กับ Knock เท่านั้นเองครับ

อันนี้ที่ผมเห็นมานะครับกับลองด้วยตัวเอง

ยังไงคงต้องรอพี่โจกับท่านอื่นๆอ่ะครับ


ปล.ฝากอีกเรื่องนะครับ เวลาจูนเนี่ย จูนเนอร์ที่ดีจะต้องดูทั้งความร้อน แรงดันน้ำมันเครื่อง เชื้อเพลิง บางครั้งเรื่องอย่างนี้ขึ้นอยู่กับหลายๆ องค์ประกอบครับ โดยจูนเนอร์จะเป็นผู้พิจารณาเองครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย retro_boy : 10-11-2009 เมื่อ 20:34.
retro_boy is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 30 Users Say Thank You to retro_boy For This Useful Post:
4d4wd (09-11-2009), aom8817 (10-11-2009), Bank_td07 (09-11-2009), bomb446 (24-01-2010), burdock (10-11-2009), Chai (10-11-2009), Dis48 (09-11-2009), dragonballz (10-11-2009), gotlaw (09-11-2009), Haa_TOTO (09-11-2009), IamArt (09-11-2009), idea_nova (22-11-2011), jo13 (10-11-2009), joe-civil@jz (27-08-2012), JZE 34 (09-11-2009), kangboss244 (11-11-2009), kenjung (10-11-2009), kkk (13-11-2009), kunsue (11-11-2009), mungkorn2 (09-11-2009), N1SPECII (10-11-2009), nona31 (10-11-2009), oat (10-11-2009), paithoon (11-11-2009), T.N.P.K. (09-11-2009), volvoman (10-11-2009), wee18 (09-11-2009), WHEGA (11-11-2009), wk7000 (10-11-2009), ศักดา (10-11-2009)
เก่า 10-11-2009, 11:29   #5
Joe@ClubJZ
Powered by PROSTREET
 
รูปส่วนตัว Joe@ClubJZ
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
ที่อยู่: Somewhere over the rainbow
กระทู้: 168
Thanks: 56
Thanked 399 Times in 90 Posts
คะแนน: 100 Joe@ClubJZ is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Joe@ClubJZ
ต้องขออนุญาติเพื่อนๆให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ
บางอย่างอาจจะไม่เหมือนกับท่านอื่นที่ได้อธิบายไว้แล ้ว ก็ต้องขออภัยด้วยครับ

เรื่องการจูนเนี่ย จะว่าค่อนข้างละเอียดอ่อนก็ละเอียดอ่อน จะว่าไม่เห็นมีอะไรยากมันก็ไม่ได้ยากครับ
แต่จุดที่สำคัญก็คือ บางครั้งพลาดนิดเดียว ได้ยกเครื่องใหม่ทันที
เพราะฉนั้น การจูนให้ได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการหาลิมิตของเครื่องตัวนั้นให้เจอครับ
การจะหาลิมิตของเครื่องได้เจอ ก็ต้องเข้าใจทฤษฎีและหลักการทำงานของเครื่องหรือชิ้น ส่วนที่ใส่เข้าไปด้วย

ค่า A/F เป็นเรื่องหลักเรื่องหนึ่งในการจูนนิ่ง
แล้วค่าที่เหมาะสมคือ 14.7 จริงหรือ? คำตอบก็คือจริงและไม่จริง แล้วแต่กรณีครับ
ในบทความของอ.ศิรบูรณ์ ก็มีอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วในเรื่องนี้ ลองย้อนกลับไปอ่านแล้วสรุปความดีๆอีกทีจะเข้าใจ
แต่ก็มีบางส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยกับท่าน ไม่ใช่ในเรื่องของทฤษฎี แต่เป็นในส่วนของการปฏิบัติจริง

สรุปสั้นๆดีกว่า พูดไปพูดมาแล้วงงเอง ฮ่ะ ฮ่ะ
สำหรับเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน
14.7 คือค่าอัตราส่วนที่ทำให้ไอเสียเผาไหม้ออกมาได้สะอาดท ี่สุด
(แต่ไม่ได้หมายความว่าแรงที่สุด)
12.5 คือค่าอัตราส่วนที่ให้กำลังงานสูงที่สุด
(แต่ก็ไม่ใช่ค่าที่เหมาะสมที่สุด)

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าค่าที่เหมาะสมที่สุดนั้นอย ู่ตรงไหน?
ก็ต้องย้อนกลับไปอ่านที่ผมเขียนไว้ในย่อหน้าที่สอง

ทำไมรอบเดินเบา หรือรอบใช้งานแบบ load ต่ำๆ คนจูนส่วนใหญ่จึงให้ A/F = 14.7?
ก็เพราะในรอบใช้งานนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้กำลังงานสูงสุดของเครื่อง ถ้าอยากได้กำลังที่เพิ่มขึ้น ก็เหยียบคันเร่งเพิ่มเอา
และที่สำคัญคือประหยัดน้ำมันและเผาไหม้หมดจด มลพิษต่ำ

แล้วถ้า load สูงขึ้นล่ะ? ควรต้องให้ A/F เป็นเท่าไหร่ถึงจะได้กำลังงานสูงที่สุด?
ตามทฤษฎี ก็ต้อง 12.5 แต่ในทางปฏิบัติ ก็ต้องดูส่วนอื่นประกอบกันไปด้วย
เช่น ลักษณะห้องเผาไหม้ อุณหภูมิไอเสีย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องสันดาป ฯลฯ และก็อีกหลายๆอย่างครับ

ถ้าเป็นรถบ้านๆเครื่องยนต์เดิมๆ แรงม้าไม่ได้สูงมาก ให้ 12.5 อุณหภูมิไอเสียก็คงไม่ได้สูงจนวัสดุมันทนไม่ได้หรอก
เพราะอากาศมันน้อย พอมันเผาไหม้แป๊บเดียวก็หมด ความร้อนก็เลยไม่มากเท่าไหร่
แต่ลองนึกภาพว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์โมดิฟาย ที่ทำแรงม้าได้หลายร้อยหรือเป็นพันแรงม้าความร้อนในห ้องเผาไหม้จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่?
ถ้าเราให้ A/F = 12.5 วัสดุหรือชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มันจะทนได้ไหม? ถ้าเป็นของซิ่งทุกชิ้นก็อาจจะพอทนได้
(นี่ยังไม่ได้คิดถึงตามที่อ.ศิริบูรณ์พูดถึงว่าในห้อ งเผาไหม้ ก็จะมีจุดที่หนาที่บางไม่เท่ากันที่ต้องนับเป็นแฟคเต อร์อีกด้วยนะครับ)

แต่ถ้าวัสดุมันทนไม่ได้ต้องทำยังไง? ก็ต้องเพิ่มน้ำมันเพื่อลดอุณหภูมิตรงนั้นลงมาให้อยู่ ในจุดที่ปลอดภัย
ซึ่งแน่นอนว่า กำลังสูงสุดของเครื่องก็ต้องลดลงด้วย
แต่จะทำไงได้ ถ้าไม่ลดตรงนี้เครื่องก็แหลก
ได้แรงม้าเพิ่มอีกสิบยี่สิบตัว แต่วิ่งได้แป๊บเดียวเครื่องแหลกทั้งตัวจะจะเอาหรือปล ่าวล่ะ?

แล้วค่าที่เหมาะสมที่สุดคือเท่าไหร่ล่ะ?
ใครจะบอกได้ครับ? ถ้ามันสามารถบอกกันได้ง่ายๆ(โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย) โลกนี้คงไม่มีใครจูนเครื่องพังหรือจูนแล้วไม่แรงหรอก

ดังนั้น สิ่งที่แตกต่างกันของคนจูนแต่ละคนก็คือค่า เซฟตี้แฟคเตอร์ ที่บวกเข้าไปจากลิมิตของเครื่องยนต์นั่นเองครับ

บางคนบวกไว้มากหน่อย ก็แรงไม่เท่าคนนู้นจูน
บางคนบวกได้ใกล้เคียงกับลิมิต ก็จูนดี จูนแรง
บางคนคำนวนลิมิตของเครื่องผิดและบวกเซฟตี้แฟคเตอร์ไม ่พอ ก็จูนพัง


เริ่มยาวและจบไม่ลงแล้วครับ
ฮ่ะ ฮ่ะ

เดี๋ยวขอทำงานก่อน แล้วจะกลับมาเพิ่มเติมให้ในส่วนที่เหลือครับ
Joe@ClubJZ is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 31 Users Say Thank You to Joe@ClubJZ For This Useful Post:
aom8817 (10-11-2009), ATE38 (11-11-2009), burdock (10-11-2009), Chai (10-11-2009), dragonballz (10-11-2009), Godzela (11-11-2009), IamArt (10-11-2009), idea_nova (22-11-2011), jo13 (10-11-2009), joe-civil@jz (27-08-2012), JZE 34 (12-12-2009), kangboss244 (11-11-2009), kenjung (10-11-2009), kkk (13-11-2009), kunsue (11-11-2009), mungkorn2 (10-11-2009), N1SPECII (10-11-2009), nanid (26-11-2010), nona31 (10-11-2009), oat (10-11-2009), paithoon (11-11-2009), Pajingo (11-11-2009), parkpoom_p (11-11-2009), RedLine (11-11-2009), retro_boy (10-11-2009), T.N.P.K. (10-11-2009), Tigercard (22-09-2010), volvoman (10-11-2009), WHEGA (11-11-2009), wk7000 (10-11-2009), ศักดา (10-11-2009)
เก่า 11-11-2009, 10:36   #6
Joe@ClubJZ
Powered by PROSTREET
 
รูปส่วนตัว Joe@ClubJZ
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
ที่อยู่: Somewhere over the rainbow
กระทู้: 168
Thanks: 56
Thanked 399 Times in 90 Posts
คะแนน: 100 Joe@ClubJZ is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Joe@ClubJZ
พอย้อนกลับมาอ่านที่ตัวเองพิมพ์ไว้ อ่านแล้วก็งงเองแฮะ และก็รู้สึกว่าไม่ได้ตอบคำถามตามที่เจ้าของกระทู้ถาม มาสักเท่าไหร่
ฮ่ะ ฮ่ะ


เอาใหม่นะครับ ตามคำถามข้อ 1 คำตอบที่ผมตอบไปคราวที่แล้วก็มีส่วนอธิบายไว้แล้วบ้า ง แต่มันยาวไปหน่อย

โดยปกติกับเครื่องเทอร์โบเดิมๆ ส่วนใหญ่ก็ให้ A/F กันหนากว่า 12.5 อยู่แล้วครับ
อยู่ในช่วง 11.0-12.0 แล้วแต่น้ำมันเชื้อเพลิง บูสต์ และสภาพเครื่องยนต์เป็นส่วนประกอบหลักๆ

สภาพเครื่องยนต์เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ถ้าเราไม่เคยผ่าเครื่องยนต์มาดูสภาพภายในเลย เราจะไม่เห็นเลยว่ามันยับเยินหรือใหม่เอี่ยมมาแค่ไหน
ถ้าสภาพภายในยังไม่กร่อนไม่พรุน ก็รีดได้เค้นได้โอเคไป ไม่พัง
แต่บางคัน สภาพลูกสูบอาจจะเริ่มมีการกร่อนหรือพรุนบ้างแล้ว แต่ยังวิ่งได้เพราะบูสต์ยังไม่เยอะ น้ำมันยังหนาอยู่ หรือนานๆซัดซะทีนึง มันก็เลยยังไม่พัง
แต่พอมาจูน คนจูนเริ่มเค้นมากขึ้น บูสต์มากขึ้น น้ำมันบางลง ความร้อนในห้องเผาไหม้สูงขึ้นแล้วก็ซัดติดๆกันเป็นเว ลานานๆ
ลูกสูบที่เริ่มกร่อนอยู่แล้ว มันก็เลยออกอาการละลายซะเลย
งานเข้าละทีนี้

สิ่งพวกนี้คือเซฟตี้แฟคเตอร์ที่ต้องเผื่อไว้ครับ

(โดยเฉพาะรถที่เพิ่งโมฯเสร็จ แล้วชอบเอาไปลองซัดกัน ก่อนที่จะมาจูน เพราะกลัวว่าจะไม่รู้ความแตกต่างก่อนและหลังการจูน)


องศาไฟจุดระเบิด ก็เป็นอีกเรื่องที่จะทำให้การจูนนั้นสมบูรณ์ หรือจะทำให้เครื่องพังก็ได้

องศาไฟจุดระเบิดตรงไหนถึงจะเหมาะสม?
เอาแบบบ้านๆก็ เอาให้เครื่องยนต์ได้กำลังสูงที่สุดโดยที่เครื่องไม่ เขก ก็คือว่าใช้ได้
ทั่วๆไปก็คือ advance หรือเอาให้แก่เข้าไว้ (แต่ต้องไม่เขก หรือ knocking)

แต่ถ้าจะเอาโดยละเอียด ก็จะมีแฟคเตอร์อีกหลายตัวที่ต้องคิดถึง เช่น อัตราส่วนกำลังของห้องเผาไหม้,
ชนิดของเชื้อเพลิง, ค่าออคเทน, ลักษณะของห้องเผาไหม้, อัตราการวาบไฟของเชื้อเพลิง (flame propagation), dwell หรือ close angle time ของระบบไฟจุดระเบิด, ความแรงของไฟจุดระเบิด, Optimum peak pressure point ของเครื่องยนต์ ฯลฯ

สิ่งต่างๆพวกนี้ ถ้าเราประมวลข้อมูลได้ทั้งหมด จะทำให้เรา ทำ MBT - Minimum advance for Best Torque ได้ (ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก)
ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์ได้แรงบิดสูงที่สุดโดยไม่ต้อง ตั้งไฟแก่มากจนเกินไป

ข้อดีก็คือ ไม่ต้องเสี่ยงมากถ้าเกิดเหตุการณ์ที่นอกเหนือความคาด หมายขึ้นมา เช่น น้ำมันออคเทนไม่คงที่ ฯลฯ

จะเล่นกับไฟจุดระเบิดต้องรอบคอบและระมัดระวังให้มากน ะครับ
เพราะถ้าพลาดเครื่องจะแหลกได้ไวกว่าการปรับน้ำมันไม่ ถูกซะอีก โดยเฉพาะเครื่องที่แรงม้าสูงๆ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Joe@ClubJZ : 11-11-2009 เมื่อ 10:51.
Joe@ClubJZ is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 14 Users Say Thank You to Joe@ClubJZ For This Useful Post:
aom8817 (11-11-2009), Godzela (11-11-2009), IamArt (11-11-2009), idea_nova (22-11-2011), joe-civil@jz (27-08-2012), JZE 34 (12-12-2009), kangboss244 (11-11-2009), kunsue (11-11-2009), nanid (26-11-2010), paithoon (11-11-2009), T.N.P.K. (11-11-2009), Tigercard (22-09-2010), WHEGA (11-11-2009), wk7000 (11-11-2009)
เก่า 11-11-2009, 10:38   #7
Joe@ClubJZ
Powered by PROSTREET
 
รูปส่วนตัว Joe@ClubJZ
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
ที่อยู่: Somewhere over the rainbow
กระทู้: 168
Thanks: 56
Thanked 399 Times in 90 Posts
คะแนน: 100 Joe@ClubJZ is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Joe@ClubJZ
แถมนิดนึงครับ


ชนิดของเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นแกสโซลีน, LPG, ดีเซล, แอลกอฮอล์, ไนโตรมีเธน ก็จะมีค่าที่ให้ clean air หรือ peak power เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ปริมาณของส่วนผสม
ความแตกต่างนั้นเกิดจากอัตราการให้กำลังงานของเชื้อเ พลิงแต่ละชนิดนั้นต่างกัน

เช่น ถ้าใช้แกสโซลีนปริมาณ 6 cc. สามารถสร้างแรงม้าได้ 1 แรงม้า
ถ้าเป็นแอลกอฮอล จะต้องใช้ปริมาณถึง 12 cc. เพื่อสร้างแรงม้าได้ 1.7 แรงม้า เป็นต้น

เท่านี้น่าจะพอเข้าใจได้ว่าทำไมรถวิ่งด้วย LPG มันถึงแรงสู้น้ำมันไม่ได้

Joe@ClubJZ is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 14 Users Say Thank You to Joe@ClubJZ For This Useful Post:
aom8817 (11-11-2009), due_jBo (06-10-2012), Godzela (11-11-2009), IamArt (11-11-2009), idea_nova (22-11-2011), joe-civil@jz (27-08-2012), JZE 34 (12-12-2009), kangboss244 (11-11-2009), kunsue (11-11-2009), nanid (26-11-2010), T.N.P.K. (11-11-2009), Tigercard (22-09-2010), WHEGA (11-11-2009), wk7000 (11-11-2009)
ตอบกลับ



กฎการส่งข้อความ
คุณไม่สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้
คุณไม่สามารถตอบกระทู้ได้
คุณไม่สามารถแนบไฟล์ได้
คุณไม่สามารถแก้ไขกระทู้ของคุณเองได้

โค้ด vB ใช้ได้
[IMG] โค้ด ใช้ได้
โค้ด HTML ใช้ได้
กระโดดไป


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:09


Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
ClubJZ. NET Bestview 1024 * 768 and 1208 * 1024 pixels