ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 25-05-2009, 21:41   #10
retro_boy
ClubJZ Old Full Member
 
รูปส่วนตัว retro_boy
 
วันที่สมัคร: Oct 2007
Car Brand: ISUZU-TFR
Engine Type: 1JZ-GTE
ที่อยู่: กรุงเทพ-ปทุมธานี
กระทู้: 183
Thanks: 18
Thanked 422 Times in 77 Posts
คะแนน: 17 retro_boy is on a distinguished road
อ้างถึง:
กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ pAe-Jdo อ่านกระทู้
ผมก็ขออนุญาตสงสัยด้วยคนครับ

กรณีที่รถคันเดียวกันทุกอย่างเหมือนกันปรับบูสต์เท่า กันสมมติ 1.2 bar

1.ใส่ E-manage จูนค่าไว้
ณ.รอบที่มีแรงม้าสูงสุดสมมติ 6800 rpm ค่าน้ำมัน = A , ค่าไฟ = B , อากาศ = C

2.ใส่ FCON up pro หรือกล่องอื่นๆ
ณ.รอบที่มีแรงม้าสูงสุด สมมติ 6800 rpm ค่าน้ำมัน = A , ค่าไฟ = B , อากาศ = C

ถ้าทุกอย่างสมมติจูนได้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากๆ อย่างนี้แรงม้าสูงสุดจะได้ไม่เกือบเท่ากันเหรอครับ

รบกวนผู้รู้ด้วยคนครับ
อย่างที่กล่าวไว้นะครับ....กล่อง 2 ใบนี้จริงๆแล้วเป็นมวยคนละรุ่นเลยนะครับแต่ถ้าหากเอา มาเปรียบเทียบก็พอได้แบบคร่าวแบบนี้นะครับ....

ผมขอเกริ่นๆแบบเข้าใจง่ายๆก่อนนะครับว่าการจูนกล่อง( ตามที่ผมเคยใช้และลองจูนเอง)...ที่เขาเรียกว่า"เค้น"คืออย่างนี้ครับ
1.รถจะวิ่งได้ดีหรือไม่องศาจุดระเบิดเป็นตัวแปรหลักๆ เลยนะครับ...ไฟแก่..รอบจะกวาดดีแรงม้าและแรงบิดสูงแต ่....มากเกินไปก็จะน็อคครับ(ชิงจุด)
2.ส่วนผสมของอากาศและน้ำมันต้องพอเหมาะ 14.7 คือค่าที่ดีที่สุดครับแต่....เรามักจะคิดกันว่าน้ำมั นหนาๆจะวิ่งดี(รถดีเซลอาจใช่นะครับ)....แต่สำหรับเคร ื่องเบนซินยิ่งบางยิ่งดีครับ(ลื่น..รอบกวาดไวเบาคันเ ร่ง)...แต่บางมากไปก็จะน็อคครับ(อีกแล้ว) ออกเทนน้ำมันยิ่งสูงมากๆจะยิ่งปรับให้ไฟแก่ได้มากขึ้ นและจุดที่จะน๊อคก็สูงขึ้นเช่นกันครับ(กำลังอัดสูงขึ ้น)

สังเกตุมั้ยครับว่า"น๊อค"เป็นอาการที่เรียกได้ว่าเป็นขีดจำกัดของเครื่องยนต์โ ดยหลีกเลี่ยงไม่ได้....เพราะฉะนั้นการ"เค้น"คือการที่"จูนเนอร์"ดึงเอาความสามารถที่เครื่องตัวนั้นจะผลิตออกมาได้... โดยทั้งไฟและน้ำมันถูกปรับมาแบบ"เฉียดน๊อค"โดย"จูนเนอร์"จะสามารถรู้ได้จากประสบการณ์และเครื่องมือนะครับ(ควา มแม่นยำของเครื่องมือที่ใช้+ซอร์ฟแวร์+ประสบการณ์).. .ดังนั้นรถทั่วไปที่ไม่เน้นแข่งขัน"จูนเนอร์"จะเผื่อไว้ค่อนข้างเยอะครับ

มาถึงตรงนี้เริ่มสงสัยแล้วใช่มั้ยครับว่า..มันแตกต่า งยังไงเราลองมานึกภาพดูนะครับว่ามีอะไรที่จะทำให้เคร ื่องเกิดอาการ"น๊อค"อย่างที่กล่าวมาบ้าง

1.ปั๊มติ๊ก...อันนี้สำคัญมากๆครับเพราะอย่าลืมถ้าแรง ดัน 3 บาร์น้ำมันตั้งไว้ +20 ผลที่ได้คือ AF 1/1 = 14.7 ใช่มั้ยครับ...แล้วถ้าแรงดันเกิดตกล่ะครับ เหลือ 2.5บาร์/น้ำมัน +20 ทีนี้มันไม่ 1/1 แล้วสิครับมันเป็น1/0.7-0.8 ผลที่ได้คือ AF บางครับ 15-16/1พอบางแล้วยังก็ไงเหรอครับก็
"น๊อค"สิครับทีนี้เพราะไฟก็บวกไว้แก่แล้วแถมบูสท์มาอีก...ท ีนี้ก็พังสิครับ(น๊อคแบบรุนแรงในรอบสูงๆ)
2.หัวเทียนครับอันนี้ไม่ต้องเอ่ยครับ....สภาพไม่ดีน๊ อคเอาง่ายๆครับ(ไม่ขอพูดถึงนะครับ..)เรพาะจุดระเบิดไ ม่ตรงตามที่ตั้งองศาเอาไว้

เล่ามาซะยาว...คงพอเข้าใจได้บ้างนะครับ....แต่สรุปได ้ดังนี้ครับ

1.กล่องที่มีความละเอียดมากๆ สามารถจูนได้..."เฉียดพัง"...หรือสามารถเค้นสมรรถนะเครื่องตัวนั้นออกมาได้เต็ม ที่..รวมถึงความไวในการประมวลผลจึงทำให้การตอบสนองที ่ดีกว่าครับ...ดังนั้นในรอบที่เท่ากัน..โหลดเท่ากัน. .บูสท์เท่ากัน(น้ำมัน-ไฟ ยังไงก็ไม่เท่านะครับเพราะเป็นความแตกต่างของซอร์ฟแว ร์)ยังไงก็ดีกว่าครับ......(รถแรงไม่ได้มีแต่แรงม้าน ะครับ..."แรงบิด"คือหัวใจเลยนะครับ)

2.ฟังค์ชั่นครับ...อันนี้แตกต่างกันเห็นๆครับ...สามา รถช่วยให้"จูนเนอร์"จูนได้เนียนขึ้นครับ....ยิ่งเนียนยิ่งดี..ยิ่งลื่นคร ับแตกต่างกับกล่องที่มีความสามารถต่ำกว่าจึงทำให้แรง ม้าและแรงบิดแตกต่างกันมากครับ

คร่าวในการจูนก็คือ.....ไฟแก่ที่สุด("เฉียดน๊อค")...น้ำมันบางพอเหมาะ(ส่วนผสมน้ำมัน/อากาศ)...บูสท์พ อดีกับสภาพอุปกรณ์ของเครื่อง(ของแต่งโดยรวม)...ลองคิ ดดูก็แล้วกันครับว่า"จูนเนอร์" ไม่ได้จูนกันง่ายๆครับ.....รถวิ่งต้องปรับทั้งไฟ..แล ะน้ำมัน..และไหนจะบูสท์อีก หูก็ต้องฟังน๊อค(เครื่องฟัง)..ตาก็ต้องมองส่วนผสมที่ AF meter คิดดูก็แล้วกันครับว่า "ง่าย" หรือ "ยาก"....แล้วเครื่องที่ทำมาบางตัวเป็นแสน-ล้านครับ จูนผิดจบลงตรงนั้นเลยครับ.....

โดยรวมๆแล้วมีอีกเยอะ...ว่างๆจะเอามาเล่าให้ฟังอีกนะ ครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย retro_boy : 25-05-2009 เมื่อ 21:51.
retro_boy is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 13 Users Say Thank You to retro_boy For This Useful Post:
ancivic (19-10-2009), Bank_td07 (16-01-2012), DoraemonPower (26-11-2009), DTA7005 (03-01-2011), HS9KRM (24-12-2009), JZE 34 (03-01-2011), Lucky (03-06-2011), mungkorn2 (12-01-2011), nanid (03-01-2011), nibley (25-11-2009), nueng5092 (13-12-2016), oat (10-10-2009), pAe-Jdo (10-05-2010)