ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 10-11-2009, 11:29   #5
Joe@ClubJZ
Powered by PROSTREET
 
รูปส่วนตัว Joe@ClubJZ
 
วันที่สมัคร: Oct 2006
ที่อยู่: Somewhere over the rainbow
กระทู้: 168
Thanks: 56
Thanked 399 Times in 90 Posts
คะแนน: 100 Joe@ClubJZ is on a distinguished road
ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง Joe@ClubJZ
ต้องขออนุญาติเพื่อนๆให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ
บางอย่างอาจจะไม่เหมือนกับท่านอื่นที่ได้อธิบายไว้แล ้ว ก็ต้องขออภัยด้วยครับ

เรื่องการจูนเนี่ย จะว่าค่อนข้างละเอียดอ่อนก็ละเอียดอ่อน จะว่าไม่เห็นมีอะไรยากมันก็ไม่ได้ยากครับ
แต่จุดที่สำคัญก็คือ บางครั้งพลาดนิดเดียว ได้ยกเครื่องใหม่ทันที
เพราะฉนั้น การจูนให้ได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการหาลิมิตของเครื่องตัวนั้นให้เจอครับ
การจะหาลิมิตของเครื่องได้เจอ ก็ต้องเข้าใจทฤษฎีและหลักการทำงานของเครื่องหรือชิ้น ส่วนที่ใส่เข้าไปด้วย

ค่า A/F เป็นเรื่องหลักเรื่องหนึ่งในการจูนนิ่ง
แล้วค่าที่เหมาะสมคือ 14.7 จริงหรือ? คำตอบก็คือจริงและไม่จริง แล้วแต่กรณีครับ
ในบทความของอ.ศิรบูรณ์ ก็มีอธิบายไว้ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วในเรื่องนี้ ลองย้อนกลับไปอ่านแล้วสรุปความดีๆอีกทีจะเข้าใจ
แต่ก็มีบางส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยกับท่าน ไม่ใช่ในเรื่องของทฤษฎี แต่เป็นในส่วนของการปฏิบัติจริง

สรุปสั้นๆดีกว่า พูดไปพูดมาแล้วงงเอง ฮ่ะ ฮ่ะ
สำหรับเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน
14.7 คือค่าอัตราส่วนที่ทำให้ไอเสียเผาไหม้ออกมาได้สะอาดท ี่สุด
(แต่ไม่ได้หมายความว่าแรงที่สุด)
12.5 คือค่าอัตราส่วนที่ให้กำลังงานสูงที่สุด
(แต่ก็ไม่ใช่ค่าที่เหมาะสมที่สุด)

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าค่าที่เหมาะสมที่สุดนั้นอย ู่ตรงไหน?
ก็ต้องย้อนกลับไปอ่านที่ผมเขียนไว้ในย่อหน้าที่สอง

ทำไมรอบเดินเบา หรือรอบใช้งานแบบ load ต่ำๆ คนจูนส่วนใหญ่จึงให้ A/F = 14.7?
ก็เพราะในรอบใช้งานนี้ เราไม่จำเป็นต้องใช้กำลังงานสูงสุดของเครื่อง ถ้าอยากได้กำลังที่เพิ่มขึ้น ก็เหยียบคันเร่งเพิ่มเอา
และที่สำคัญคือประหยัดน้ำมันและเผาไหม้หมดจด มลพิษต่ำ

แล้วถ้า load สูงขึ้นล่ะ? ควรต้องให้ A/F เป็นเท่าไหร่ถึงจะได้กำลังงานสูงที่สุด?
ตามทฤษฎี ก็ต้อง 12.5 แต่ในทางปฏิบัติ ก็ต้องดูส่วนอื่นประกอบกันไปด้วย
เช่น ลักษณะห้องเผาไหม้ อุณหภูมิไอเสีย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องสันดาป ฯลฯ และก็อีกหลายๆอย่างครับ

ถ้าเป็นรถบ้านๆเครื่องยนต์เดิมๆ แรงม้าไม่ได้สูงมาก ให้ 12.5 อุณหภูมิไอเสียก็คงไม่ได้สูงจนวัสดุมันทนไม่ได้หรอก
เพราะอากาศมันน้อย พอมันเผาไหม้แป๊บเดียวก็หมด ความร้อนก็เลยไม่มากเท่าไหร่
แต่ลองนึกภาพว่า ถ้าเป็นเครื่องยนต์โมดิฟาย ที่ทำแรงม้าได้หลายร้อยหรือเป็นพันแรงม้าความร้อนในห ้องเผาไหม้จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่?
ถ้าเราให้ A/F = 12.5 วัสดุหรือชิ้นส่วนของเครื่องยนต์มันจะทนได้ไหม? ถ้าเป็นของซิ่งทุกชิ้นก็อาจจะพอทนได้
(นี่ยังไม่ได้คิดถึงตามที่อ.ศิริบูรณ์พูดถึงว่าในห้อ งเผาไหม้ ก็จะมีจุดที่หนาที่บางไม่เท่ากันที่ต้องนับเป็นแฟคเต อร์อีกด้วยนะครับ)

แต่ถ้าวัสดุมันทนไม่ได้ต้องทำยังไง? ก็ต้องเพิ่มน้ำมันเพื่อลดอุณหภูมิตรงนั้นลงมาให้อยู่ ในจุดที่ปลอดภัย
ซึ่งแน่นอนว่า กำลังสูงสุดของเครื่องก็ต้องลดลงด้วย
แต่จะทำไงได้ ถ้าไม่ลดตรงนี้เครื่องก็แหลก
ได้แรงม้าเพิ่มอีกสิบยี่สิบตัว แต่วิ่งได้แป๊บเดียวเครื่องแหลกทั้งตัวจะจะเอาหรือปล ่าวล่ะ?

แล้วค่าที่เหมาะสมที่สุดคือเท่าไหร่ล่ะ?
ใครจะบอกได้ครับ? ถ้ามันสามารถบอกกันได้ง่ายๆ(โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย) โลกนี้คงไม่มีใครจูนเครื่องพังหรือจูนแล้วไม่แรงหรอก

ดังนั้น สิ่งที่แตกต่างกันของคนจูนแต่ละคนก็คือค่า เซฟตี้แฟคเตอร์ ที่บวกเข้าไปจากลิมิตของเครื่องยนต์นั่นเองครับ

บางคนบวกไว้มากหน่อย ก็แรงไม่เท่าคนนู้นจูน
บางคนบวกได้ใกล้เคียงกับลิมิต ก็จูนดี จูนแรง
บางคนคำนวนลิมิตของเครื่องผิดและบวกเซฟตี้แฟคเตอร์ไม ่พอ ก็จูนพัง


เริ่มยาวและจบไม่ลงแล้วครับ
ฮ่ะ ฮ่ะ

เดี๋ยวขอทำงานก่อน แล้วจะกลับมาเพิ่มเติมให้ในส่วนที่เหลือครับ
Joe@ClubJZ is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 31 Users Say Thank You to Joe@ClubJZ For This Useful Post:
aom8817 (10-11-2009), ATE38 (11-11-2009), burdock (10-11-2009), Chai (10-11-2009), dragonballz (10-11-2009), Godzela (11-11-2009), IamArt (10-11-2009), idea_nova (22-11-2011), jo13 (10-11-2009), joe-civil@jz (27-08-2012), JZE 34 (12-12-2009), kangboss244 (11-11-2009), kenjung (10-11-2009), kkk (13-11-2009), kunsue (11-11-2009), mungkorn2 (10-11-2009), N1SPECII (10-11-2009), nanid (26-11-2010), nona31 (10-11-2009), oat (10-11-2009), paithoon (11-11-2009), Pajingo (11-11-2009), parkpoom_p (11-11-2009), RedLine (11-11-2009), retro_boy (10-11-2009), T.N.P.K. (10-11-2009), Tigercard (22-09-2010), volvoman (10-11-2009), WHEGA (11-11-2009), wk7000 (10-11-2009), ศักดา (10-11-2009)