ดูแบบคำตอบเดียว
เก่า 09-11-2009, 19:30   #4
retro_boy
ClubJZ Old Full Member
 
รูปส่วนตัว retro_boy
 
วันที่สมัคร: Oct 2007
Car Brand: ISUZU-TFR
Engine Type: 1JZ-GTE
ที่อยู่: กรุงเทพ-ปทุมธานี
กระทู้: 183
Thanks: 18
Thanked 422 Times in 77 Posts
คะแนน: 17 retro_boy is on a distinguished road
AF ratio คืออัตราส่วนผสม ระหว่างน้ำมันและอากาศ
โดยอัตรา ส่วนผสมที่ดีแลกเหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ดีที่สุดคือ 14.7 : 1(ตำราเขาว่าอย่างนั้นน่ะครับ)

โดยแปลความหมายดังนี้

14.7 คือปริมาณอากาศ 14.7 ส่วน ต่อน้ำมันเชื้อเพลิง 1 ส่วน

โดยค่าพลังงานที่เหมาะสมหรือค่า Clean ของแต่ละเชื้อเพลิงจะไม่เท่ากันนะครับ

เช่น เบนซินก็จะ 14.7 LPG จะ 15.5-16.5 โดยประมาณนะครับ ไนโตรมีเทนก็อีกอย่าง แอลกอฮอลล์ก็อีกอย่าง

ดังนั้นค่ากำลังงาน จึงไม่เท่ากันแต่ที่ จขกท สงสัยว่าค่ากำลังงานสูงสุดน่าจะมาจากอันนี้ครับ

เครื่องยนต์เทอร์โบ จะมีการเผาไหม้ที่ค่อนข้างซับซ้อนพอสมควรนะครับหรือเ รียกว่า แบบแปรผันได้ตามแรงปริมาณอากาศ(เทอร์โบ อัดเข้า) จึงขอแบ่งการทำงานเป็น 2 ช่วงนะครับ

1.ช่วงใช้งาน ตั้งแต่รอบเดินเบาไปถึง เริ่มติดบูสท์.....ช่วงนี้ล่ะครับที่จะต้องใช้การวัด ส่วนผสมโดย อัตรที่ใช้คือ 14.7 เป็นเกณฑ์ เพราะจะเผาไหม้ได้ดีที่สุ ุดและให้กำลังเครื่องยนต์พอเหมาะ เพราะถ้าหนาไปจะือืด บางไปก็จะไม่มีกำลัง

2.ช่วงติดบูสท์ (กรณีรถปรับแต่งเครื่องยนต์)ช่วงนี้ล่ะครับ สำคัญโดยส่วนมากมักจะปรับให้หนาไว้ก่อนเพื่อที่จะต้อ งการปริมาณไอเสียมากๆไปปั่น เทอร์ไบน์เพื่อเรียกบูสท์ เพื่อให้บูสท์มาเร็วขึ้นโดยจะปรับไว้หนาหน่อยประมาร 12 -13 กว่าๆ จนไปถึง รอบสูงสุดทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการ Knock ซึง่อาจเกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่นเขี้ยวหัวเทียนละลาย ลุกสูบร้อนจัด ความร้อนสะสมจากการสันดาบ จึงต้องกันไว้ก่อนนะครับ ตรงนี้และเป็นการเซฟเครื่องยนต์ไว้ด้วยครับ ซึ่งจากสาเหตุตรงนี้ที่ จขกท ถามมาแน่ๆเลยครับเพราะส่วนมาก รถที่บูสท์หนักๆ มักจะปรับไว้หนาๆในรอบปลายครับเพราะเหตุผลแบบนี้ล่ะค รับ

ส่วนมันจะได้สูงสุดมั้ย อันนี้ ไม่แน่ใจครับเพราะค่าที่ให้กำลังสูงสุดของแต่ละเครื่ องให้กำลังไม่เท่ากันนะครับ โดนส่วยมากผมก็มักจะใช้ 14.7 เป็นเกณฑ์ครับ เพียงแต่เวลาที่ติดบูสท์แล้วเนี่ย 12 กว่าๆคือเผื่อไว้ครับ(เกิดฉุกเฉิน จะได้ไม่พัง น้ำมันหนาเหลือดีกว่าขาด ครับ) แต่ที่เขาเค้นจริงๆคือ 13-14.7 หรือ 1 แลมด้านั่นเองครับ

เพราะบางครั้งจูนตามตำรา 14.7 แล้วอาจได้ม้าซัก 560 ม้าแต่พอเอาน้ำมันหนาหน่อย อาจจะได้ 590 ม้าแต่วิ่งจริงจะหนืดหน่อย ก้เอาล่ะครับถ้าต้องการม้าเยอะ....อย่าลืมนะครับว่าร ถแข่งกับรถใช้งานคนละเรื่องกัน รถแข่งต้องการม้าเยอะแต่รถใช้งานต้องการแรงบิดรอบต่ำ และความ Smooth ของเครื่องยนต์ครับ(ขับง่ายประหยัด ทนทาน ทำนองนั้นอ่ะครับ)

ส่วนเรื่องจูนเนอร์ที่จูนแล้วไฟอ่อนวิ่งดีแสดงว่าเก่ งนั้น อันนี้ไม่ทราบจริงๆครับเพราะเป็นเทคนิคขิงแต่ละท่านค รับเพียงแต่เท่าที่ผมเคยลองมา ไฟจุดระเบิดเนี่ยล่ะครับเป็นตัวกำหนดทั้งแรงม้าและแร งบิดยิ่งแก่มากเครื่อง ยิ่งมีอัตรเร่งที่ดีเยี่ยมครับเพียงแต่ ต้องระวังเรื่องส่วนผสม AF ratio กับ Knock เท่านั้นเองครับ

อันนี้ที่ผมเห็นมานะครับกับลองด้วยตัวเอง

ยังไงคงต้องรอพี่โจกับท่านอื่นๆอ่ะครับ


ปล.ฝากอีกเรื่องนะครับ เวลาจูนเนี่ย จูนเนอร์ที่ดีจะต้องดูทั้งความร้อน แรงดันน้ำมันเครื่อง เชื้อเพลิง บางครั้งเรื่องอย่างนี้ขึ้นอยู่กับหลายๆ องค์ประกอบครับ โดยจูนเนอร์จะเป็นผู้พิจารณาเองครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย retro_boy : 10-11-2009 เมื่อ 20:34.
retro_boy is offline   ตอบพร้อมอ้างถึงข้อความเดิม
The Following 30 Users Say Thank You to retro_boy For This Useful Post:
4d4wd (09-11-2009), aom8817 (10-11-2009), Bank_td07 (09-11-2009), bomb446 (24-01-2010), burdock (10-11-2009), Chai (10-11-2009), Dis48 (09-11-2009), dragonballz (10-11-2009), gotlaw (09-11-2009), Haa_TOTO (09-11-2009), IamArt (09-11-2009), idea_nova (22-11-2011), jo13 (10-11-2009), joe-civil@jz (27-08-2012), JZE 34 (09-11-2009), kangboss244 (11-11-2009), kenjung (10-11-2009), kkk (13-11-2009), kunsue (11-11-2009), mungkorn2 (09-11-2009), N1SPECII (10-11-2009), nona31 (10-11-2009), oat (10-11-2009), paithoon (11-11-2009), T.N.P.K. (09-11-2009), volvoman (10-11-2009), wee18 (09-11-2009), WHEGA (11-11-2009), wk7000 (10-11-2009), ศักดา (10-11-2009)