เวลาเราจะวางเครื่องยนต์ ลงบนตัวรถของเรานั้น จากน้ำหนักตัวถังรถรวมช่วงล่างรวมถังน้ำมันที่บรรจุน ้ำมันเต็มถัง ถ้าน้ำมันไม่เกิน 1500 กก.แล้ว ใช้เครื่องยนต์ระดับ 2000 ซีซี. แรงม้าไม่เกิน 200 ตัว ก็ดูน่าจะเหลือเฟือแล้ว
แต่ว่า ทำไม เราจึงนำเครื่องยนต์ 2500 ซีซี ถึง 3000 ซีซี มาวางใช้ในรถของเรา บางท่าน ใช้รุ่นเทอร์โบด้วยซ้ำไป เพราะด้วยคอนเซปท์ที่ว่า มีแรงเหลือเฟือ ดีกว่า จะใช้งานแล้วมีไม่พอ ใช่หรือเปล่าครับ หรือนิยามที่ว่า "เหลือดีกว่าขาด" นั้น จึงน่าจะเป็น นิยามที่พวกเราท่านๆ นำมาใช้ในการวางเครื่องยนต์ จริงมั้ยครับ
ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำก็เช่นเดียวกันครับ เมื่อเราต่างก็มี นิยาม "เหลือดีกว่าขาด" อยู่ในใจของทุกท่านอยู่แล้ว การทำระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ จึงต้องใช้ คอนเซปท์นี้เช่นกันครับ
อย่างกรณีศึกษาของกระทู้นี้ ต้องบอกว่า เจ้าของกระทู้ ทำระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ พอดีเกินไปครับ (พอดีในระดับที่เรียกว่า ฟิทเปรี๊ยะ ขาดนิดๆด้วยซ้ำไปครับ) อย่างน้อยๆ เวลาเราวางเครื่องยนต์นั้น เราต้องศึกษาให้พร้อมก่อน โดยเฉพาะสมรรถนะของเครื่องยนต์ ซึ่งรวมถึง สเปคที่กำหนดปริมาณ น้ำระบายความร้อนเครื่องยนต์, ปริมาณ น้ำมันเครื่อง, ปริมาณน้ำมันเกียร์ เป็นต้นครับ
ปริมาณของน้ำสำหรับระบายความร้อนเครื่องยนต์ของเจแซด เป็นเครื่องยนต์แถวเรียง 6 สูบ จึงจำเป็นต้องใช้ปริมาณน้ำ มากพอเพื่อหล่อเลี้ยงระบายความร้อนเครื่องยนต์เวลาทำ งาน พีค ที่สุด ได้พอเพียง (ช่วงพีคคือ ช่วงที่เครื่องยนต์ทำงานที่ความเร็วรอบสูงๆได้อย่างส ม่ำเสมอ เช่นช่วงทำความเร็วสูง หรือช่วงที่ใช้กำลังเครื่องยนต์ขึ้นเขาสูงชัน เป็นต้น) ซึ่งปริมาณน้ำระบายความร้อนนี้ จึงไม่ควรต่ำกว่า 6 ลิตร ครับ และไม่จำเป็นต้องเกิน 8 ลิตรครับ
นั่นแสดงว่า ปริมาณน้ำในหม้อน้ำ ถังพักน้ำ รวมทั้งในเครื่องยนต์ ควรจะต้องมีปริมาณ 6 - 8 ลิตร จึงจะเพียงพอที่ทำให้เครื่องยนต์ ผ่านการทำงานช่วงพีคที่สุดได้อย่างสบายๆครับผม ส่วนเรื่องระบบระบายความร้อน เช่น พัดลมระบายความร้อน, สวิทช์พัดลมหม้อน้ำ, สเปคฝาหม้อน้ำ, สเปควาล์วน้ำ หรือระบบระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์สู่ภายนอก นั้น เป็นส่วนต่างหากที่จะต้องคำนึงถึงต่อไปครับ
__________________
JZM - 5
|