![]() |
พัดลมไฟฟ้า กับ ทอโมสตัส ควรใส่กี่องศาดีคับ เอาไว้สั่งพัดลมทำงาน
2j-ge วาง benz w123
จะใส่พัดลมหลังหม้อน้ำ 2ตัว ครับเป็นพัดลม สายไฟ4 เส้น ครับ คือ ผมจะถอดชุด พัดลมไฮรโดรลิต ทั้งชุด ออกหมดเลยครับ จะเอาไว้ลง หน้าซื้อขายครับ จะมาใช้ปั๊มน้ำธรรมดาแทนครับ แล้วจะใส่พัดลมไฟฟ้าแทนครับ อยากทราบ ว่า 1.ตัวเซ็นเซอร์ที่ใส่ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน (ทอโมสตัส) สมาชิกทุกท่าน ใส่กันกี่องศา ครับ 2.ผมควรเดินระบบไหนดีครับ 2.1 เวลาเปิดแอร์ให้พัดลมทำงาน สเตปแรก หมุนด้วยกัน 2ตัว หลังหม้อน้ำ แล้วหน้ารังผึ้งแอร์มีพัดลมตัวใหญ่อีก1 ตัว ครับให้ทำงานร่วมเลยดีเปล่า ครับ พอ ความร้อนได้ก็ให้ทำงาน สเตปที่2 แรงๆไปเลย ทั้ง 3 ตัว 2.2 หรือว่า เอาแค่ พัดลมหน้ารังผึ้งแอร์ หมุนตัวเดียว ส่วนหลัง หม้ำน้ำ พัดลมอีก2 ตัว ค่อยทำงานตอน เวลาร้อนจัดหรือถึงอุณภูมิของ ทอโมสตัส ให้ทำงาน แรงๆไปเลยครับ อีก 2 วันต้องเดินไฟแล้วครับ อยากทำให้ จบทีเดียวเลยอ่ะ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ |
ของผมนะ
step แรกทำงานตอนเปิดแอร์ 2 ตัวดูด กับพัดลมแอร์ 1 ตัว step 2 ทำงานตอนร้อนเลยแรงๆ สวิชพัดลมไฟฟ้าเอามาจากเครื่องเดิม bmw เพี้ยนๆ ทำงาน step 2 ที่ 96'c ตัดการทำงานที่ 88'c (วัดความร้อน THW) ผมเลยต่อสวิชโยกตรงเข้ามาในรถเลยชิลๆครับ :smile: |
เทอร์โมใช้ของนิสสัน B11 ก็ได้ครับเปิดประมาณ 85-87 องศา
ส่วนการต่อพัดลม 2 สเต็ปนั้น ต่อให้ทำงานพร้อมกันทั้งสองตัวโดยเสต็ปแรกทำงานพร้อม แอร์โดยดึงสัญญาณจากหน้าคลัชคอมแอร์หรือใช้สวิตช์เดิ มของเบนซ์ก็ได้รวมถึงพัดลมเป่าหน้าแผงแอร์ด้วยทำงานพ ร้อมกัน เสต็ป 2 ทำงานตามอุณหภูมิคุมโดยเทอร์โมสวิตช์ครับ ของผม 1JVV ลงใน 190E พัดลมดูด 2 เสต็ปก็ต่อแบบนี้ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาครับ:smile: |
โดยปกติแล้ว พัดลมคู่กับพัดลมใหญ่ตัวเดียว ระบบการทำงาน 2 สเต๊ปจะต่างกันครับ
พัดลมคู่ เวลาทำงาน มี 2 สเต๊ปแบบ สเต็ปแรก พัดลมพัดตัวเดียว สเต็ปสอง พัดลมพัดคู่ครับ ส่วนพัดลมใหญ่ตัวเดียว สเต็ปแรกพัดเบา สเต็ปสองพัดแรงครับ สวิทช์ความร้อนหม้อน้ำ ที่ติดเพื่อใช้กับพัดลมนั้น เราจะติดตั้งนั้นต้องใช้สเป็คสัมพันธ์กับ วาล์วน้ำครับ เช่น สเป็ควาล์วน้ำของเราเปิดที่ 82 องศา ดังนั้น ค่าเฉลี่ยความร้อนของน้ำในเครื่องยนต์ จะอยู่ที่ 87 - 92 องศาเซลเซียส (เป็นค่าเฉลี่ยที่สม่ำเสมอต่ำสุดและสูงสุด โดยค่าต่ำสุดได้จากค่าสเป็ควาล์วน้ำเปิด+เพิ่ม 5 องศา และค่าสูงสุดได้จากค่าต่ำสุด+เพิ่ม 5 องศาครับ) ซึ่งถ้าจุดติดตั้งสวิทช์ความร้อนหม้อน้ำ ติดตั้งที่ด้านบนหม้อน้ำ ก็ควรใช้สเปคที่ 92-95 องศาครับ แต่ถ้าติดตั้งที่กลางหม้อน้ำ ก็ควรใช้สเปค 90 องศาครับ และถ้าติดตั้งด้านล่างของหม้อน้ำ ก็ควรใช้สเปคที่ 85 - 87 องศาครับ ขั้นตอนการวายริ่งสายไฟให้กับพัดลมทำงาน (รายกรณีวางคอยล์ร้อนไว้ที่หน้าหม้อน้ำ)
|
2.2 หรือว่า เอาแค่ เปิดแอร์ พัดลมหน้ารังผึ้งแอร์ หมุนตัวเดียว
ส่วนหลัง หม้ำน้ำ พัดลมอีก2 ตัว เวลาร้อนจัดหรือถึงอุณภูมิของ ทอโมสตัสสเตป2 ให้ทำงาน แรงๆไปเลยครับ |
อ้างถึง:
ถ้าไม่ทำเช่นนี้ เวลาพัดลมคอยล์ร้อนทำงาน หลังคอยล์ร้อนคือกำแพงหม้อน้ำ ลมร้อนที่พัดผ่านรังผึ้งคอยล์ ส่วนหนึ่งจะอบอวลอยู่บริเวณช่องว่างระหว่าง คอยล์ร้อนกับหม้อน้ำ จึงทำให้ คอยล์ร้อนแอร์ระบายความร้อนไม่ทันครับ |
ผม งง นิดหน่อยครับ
ขั้นตอนการวายริ่งสายไฟให้กับพัดลมทำงาน (รายกรณีวางคอยล์ร้อนไว้ที่หน้าหม้อน้ำ) เวลาสตาร์ทเครื่องยนต์ พัดลมหม้อน้ำจะทำงานสเต็ปแรก หมายถึง เปิดแอร์อยุ่แล้วใช่เปล่าครับ พัดลมที่อยู่หน้า รังผึ้งแอร์ เวลาสวิทช์ความร้อนหม้อน้ำทำงาน(ถึงอุณหภูมิที่กำหนด ) หรือ เมื่อหน้าคลัชท์คอมพ์แอร์ทำงาน พัดลมหม้อน้ำจะทำงานสเต็ปสอง และพัดลมคอยล์ร้อนแอร์ ก็จะทำงานพร้อมกันไปด้วยครับ หมายถึง อุณหภูมิความร้อนถึงก็ทำงาน แบบ สเต็ป2 หรือ แรงๆ ไปเลย พร้อมกับ พัดลมแอร์ด้วย ช่ายปะครับ |
ตอนนี้ผมใส่ วาวล์น้ำของ มิตซู อยู่ครับ 78.0 องศา มั่งครับ ผมจำไม่ได้แล้วครับ
แบบนี้ ผมควรหา ทอโมสตัส ซัก 85-87 องศา ของนิสสัน B11 แบบนี้โอเคปะครับ ผมอยากให้เรื่องความร้อน จบๆ ไปครับ อยากซัดๆได้แบบ สบายใจครับ |
อ้างถึง:
แต่ผมกลัวเวลารถติดๆ แอร์ไม่เย็น ครับ |
ของพี่ BMW ฝังกลางหม้อน้ำ step 1 หมุนเบา 93 องศา,step 2 หมุนแรง 99 องศา
ใช้พัดลม 2 step 4 สาย ของนิสสัน กับพัดลม 2 สเตป ของ บอช หน้าแผงแอร์ |
อ้างถึง:
ปกติแล้ว เวลาที่สวิทช์หม้อน้ำทำงาน พัดลมหม้อน้ำต้องทำงานสเต็ปสองอยู่แล้วครับ ดังนั้นการทำงานของพัดลม ทั้ง 3 ตัวมีดังนี้ครับ
อ้างถึง:
|
ใช้ได้ครับ แต่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าคุณวางสวิทช์ไว้จุดไหนของหม้อน้ำ ครับ กรณีสวิทช์ที่คุณระบุมานั้น ควรวางที่กลางหม้อน้ำนะครับ[/quote]
ของผมเป็นหม้อน้ำตั้ง ครับ ควรใส่ไว้ ท่อนล่าง (ฝาล่าง) ใช่ปะครับ |
อ้างถึง:
ของผมเป็นหม้อน้ำตั้ง ครับ ควรใส่ไว้ ท่อนล่าง (ฝาล่าง) ใช่ปะครับ[/quote] ใช่ครับ ถ้าเจาะช่องติดตั้งได้แค่ ฝาบนกับฝาล่าง ก็ควรติดตั้งที่ ฝาล่างครับ |
1 ไฟล์แนบ
ของผมใส่ของ Corola ขับหน้าครับเพราะดูจากความต้านทานของตัวมันจะทำงานตร งกันข้ามกับของพวก Nissan ครับคือเวลา อุณหภูมิยังไม่ถึงจุดทำงานความต้านทานตัวของมันจะเป็ น 0 โอห์มครับ(ต่อวงจร)ส่วนเวลาอุณหภูมิถึงจุดทำงานมันจะ มีค่าเป็นอนันต์ครับ(เปิดวงจร)ผมนำมาใช้โดยให้พี่ที่ ทำงานทำวงจร Buffer ให้ครับ (ข้อดีหากสายเทอร์โมหลุดพัดลมจะทำงานตลอดป้องกันสายห ลุดพัดลมดับเครื่องฮีท)ถือว่าป้องกันไว้ก่อนแต่ถ้าพั ดลมเจ๊งก็ตัวใครตัวมันครับกำลังว่าจะคิดทำตัว Alarm เวลาพัดลมเสียกับอุณหภูมิน้ำสูงเกินอยู่ครับ:? :) :emo_toon09: :emo_toon11:
ปล.ของผมฝังตรงข้าง THWและ Sensor ความร้อนที่หน้าปัดครับ ไม่รู้ว่าค่ามันจะ OK หรือเปล่าครับ |
ของผมก็พัดลมไฟฟ้า 1jz-ge วางใน w123 เหมือนกัน
และก็มีพัดลม 3 อันเหมือนกันด้วย โดยแบ่งเป็น พัดลมหน้าแผงแอร์ 1 อัน(ทำได้แค่จังหวะเดียว) และพัดลมดูดหลังหม้อน้ำ 2 อัน (2 จังหวะ) ของผมต่อแบบนี้นะ (ผมจะเขียนเป็นคล้ายๆ ตารางนะ จะได้อ่านง่ายๆ) 1. ตอนเครื่องยนตร์สตาร์ทครั้งแรก ผมอยากให้เครื่องร้อนเร็วๆ เพื่อให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม ตอนเครื่องวอร์มเร็วๆ ก็เลยบอกให้ช่างต่อให้หมุนแค่อันเดียวครับ เพราะผมเข้าใจเองว่า ถ้าหมุนแค่อันเดียว เครื่องคงร้อนเร็วๆ จะได้ไม่ต้องวอร์มนาน
2. ตอนเครื่องยนตร์สตาร์ท พร้อมเปิดแอร์
โดยถ้าแอร์ตัด พัดลมดูด 2 และ พัดลมหน้าแผงแอร์ จะหยุดด้วย 3. ตอนเครื่องยนตร์สตาร์ท พร้อมเปิดแอร์ และ sensor ความร้อนทำงาน
จนความร้อนลดลง จึงลดความเร็วลง เหลือแค่ step 1 เท่าที่ใช้มาก็ไม่มีปัญหาอะไรนะครับ ผิดถูกยังไง ขออภัยด้วยนะครับ คิดว่ามาแชร์ประสบการณ์กัน |
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:54 |
Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.
ClubJZ. NET Bestview 1024 * 768 and 1208 * 1024 pixels