![]() |
แลมด้า
ไอ่ที่เค้าว่า+แลมดานี้ แลมด้ามันคืออะไรคับ ราคาเท่าไหร่ ใส่เพื่ออะไรหรอคับ พอดีว่าจะติดแก๊สเจโบคับ
|
อ้างถึง:
ติดตั้งแก๊ส จะแบ่งระบบเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ 1. ฉีด 2. ดูด ฉีด ก็คือหัวฉีด แล้วแต่ว่าจะ single point หรือ multi points ส่วนใหญ่ที่นิยมก็คือ multi points เพราะนำค่าจากหัวฉีดน้ำมันเดิมในปัจจุบันไปใช้งานได้ เลย (รถส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็น มัลติพอยท์) ดูด ก็คือให้เครื่องยนต์ดูดแก๊สกับอากาศ ผสมกันเข้าไป แบ่งเป็น 2 ตัวหลักๆคือ 1. Fix Mixer 2. Variable Mixer Fix Mixer ก็จะไปเน้นที่ ตัว Mixer คืออุปกรณ์ที่ผสมแก๊สกับอากาศ มีขนาดรูคงที่ เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มี ซีซีไม่มากนัก เช่น 1300 - 3000 ซีซี ประเด็นหลัก คือการเลือกขนาดรูในมิกซ์ ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์แต่ละความจุ Variable Mixer ก็คือตัวมิกซ์จะมีขนาดรูที่เปลี่ยนแปลงได้ตามความต้อ งการของเครื่องยนต์แต่ละย่านความเร็วรอบ เหมาะกับเครื่องยนต์ ซีซี สูงๆ พวก 4000 ซีซี ขึ้นไป ต่อไปคืออุปกรณ์เสริมสมรรถนะ สำหรับระบบดูด ที่ชื่อ Lamda Control Stepping Motor หรือที่เรียกสั้นว่า แลมด้า จริงๆแล้ว แลมด้า คือกราฟการเผาไหม้ ที่ได้มาจากการทำงานของ O2 Sensor แบบ Narrow Band ซึ่งเจ้า O2 Sensor แบบ Narrow Band จะทำงานแบบ บอกว่าส่วนผสม หนา หรือบาง ได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ส่วนผสมที่พอดี มันทำได้ค่อนข้างแย่ คือค่าไม่ตรง แต่ข้อดีคือ มันมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างนาน รถยนต์ต่างๆ จึงนำข้อดี คือความทน และความสามารถในการตรวจสอบว่า หนา หรือบาง มา ควบคุมการจ่ายแก๊ส ให้เป็นแบบ Close Loop ก็คือ จ่ายให้ หนา สลับกับ บาง คือ ถ้า O2 Sensor ตรวจเจอว่าหนา ก็จะลดการจ่ายน้ำมันลง ทำให้บางลง พอ O2 Sensor ตรวจเจอว่าบาง ก็จะเพิ่มการจ่ายน้ำมันขึ้น ทำให้หนาขึ้น นี่คือการทำงานของหัวฉีดน้ำมัน ซึ่งเป็นการควบคุมการเผาไหม้ แบบแลมด้า ทีนี้มาดู เจ้า"แลมด้า"ที่เราเรียกกัน มันก็คือ การควบคุมการจ่ายแก๊ส ให้อยู่ในแบบ Close loop ตามค่าการเผาไหม้ที่ได้จาก O2 Sensor เช่นกัน (คือหนา สลับบาง เหมือนกัน) ฉะนั้น ตามชื่อเต็มๆของ Lamda Control Stepping Motor ก็จะแปลได้ว่า การควบคุมการเผาไหม้ตามรูปแบบกราฟแลมด้า ด้วยตัวเสต็ปมอเตอร์ ซึ่งเจ้าเสต็ปมอเตอร์ ก็เสมือนกับพาวเวอร์วาล์ว ที่แบ่งขั้นไว้ 0-255 ขั้น เพื่อใช้หรีแก๊ส หรือเพิ่มแก๊ส ด้วยการควบคุมด้วยกล่อง ECU ส่วนพวกอุปกรณ์อื่นๆ ก็มีหลายอย่าง เช่นอุปกรณ์สลับแก๊ส มีทั้งแมนนวล และออโต้ ซึ่งข้อดีข้อเสียก็ต่างกัน แต่จุดประสงค์เดียวกัน คือสลับโหมดการใช้งาน ระหว่างแก๊สกับน้ำมัน กล่องหลอก (Emulator) คือการหลอก เพื่อดับไฟเอ็นจิ้นต์ ที่โชว์มากวนใจ มี 2 พวกหลักๆ คือ 1. การหลอกหัวฉีด คือการทำให้ ECUของรถ ยังตรวจเจอว่า หัวฉีดมีการทำงานปกติอยู่ แต่จริงๆแล้วหัวฉีดมันหยุดการทำงานไป 2. การหลอกโอทู คือการหลอก ECU ว่าส่วนผสมเหมาะสม รถแต่ละคันก็หลอกต่างกันไป รถมิตซูแลนเซอร์ ส่วนมาก เราหลอกแค่หัวฉีด ก็ดับไฟเอ็นจิ้นต์ได้ ในขณะที่ วีออส เราต้องหลอกโอทู ถึงจะดับได้ |
ชัดเจนเลยคร้าบ เข้ามาเก็บความรู้ :)
|
:confused: :confused: แล้วติดระบบ หัวฉีด ต้องติดแลมด้า หรือเปล่าครับ:confused: :confused:
|
อ้างถึง:
|
:( :( แล้วระบบดูดหละครับ จำเป็นต้องติดแลมด้าด้วยหรือเปล่าครับ ถ้าไม่ติดจะมีผลอย่างไรบ้างครับ :( :(
|
ประหยัด
อ้างถึง:
|
ถามหน่อยครับ เห็นช่างหลายๆคนบอกว่า(ไม่ทุกคนนะครับ) ติดแลมด้า ตอนใช้แรกๆดีแต่ใช้ไปซัก 1 ปีมันจะรวนจิงป่าวครับ 1jz Gte
|
เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 20:41 |
Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2025, Jelsoft Enterprises Ltd.
ClubJZ. NET Bestview 1024 * 768 and 1208 * 1024 pixels