ClubJZ Forums

ClubJZ Forums (http://www.ClubJZ.net/index.php)
-   ClubJZ! Useful Information (http://www.ClubJZ.net/forumdisplay.php?f=14)
-   -   อยากรู้ว่า ปุ่ม Pwr Manu และ O/d ทำงานต่างกันอย่างไรครับ (http://www.ClubJZ.net/showthread.php?t=40308)

macmacmac 25-09-2009 20:05

อยากรู้ว่า ปุ่ม Pwr Manu และ O/d ทำงานต่างกันอย่างไรครับ
 
พอดีอยากรู้ว่า ปุ่ม Pwr Manu และ O/d ทำงานต่างกันอย่างไรครับ

แต่ละปุ่ม ทำงานอย่างไรและต่างกันอย่างไร


รบกวนผู้รู้ช่วยไขปัญหาด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

โกยเถอะเจ 27-09-2009 13:29

อ้างถึง:

กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ macmacmac (408547 กระทู้)
พอดีอยากรู้ว่า ปุ่ม Pwr Manu และ O/d ทำงานต่างกันอย่างไรครับ

แต่ละปุ่ม ทำงานอย่างไรและต่างกันอย่างไร


รบกวนผู้รู้ช่วยไขปัญหาด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

Power จะทำให้เราสามารถ ลากรอบเครื่องได้มากขึ้นครับ

ส่วน O/D นั้น มันจะลดต่ำแหน่งเกียร์ให้เรา 1 ตำแหน่งครับ

-snowman- 28-09-2009 00:36

โหมด Power ECT กล่องจะลากเกียร์แต่ละเกียร์ให้ไปเปลียนที่รอบสูงขึ้ น "เมื่อกดคันเร่งจม"

ส่วน O/D Off คือการปิดการใช้งานเกียร์ 4 หรือเกียร์ โอเวอร์ไดรฟ์นั่นแหละ จะเหลือเกียร์แค่ 3 เกียร์ครับ ตอนทำความเร็วสูงสุดปิด O/D จะขึ้นไว :?


ถ้าเปิด Power ECT + O/D Off ด้วย จะยิ่งเร้าใจครับ

power357 28-09-2009 01:48

ลองกด....pwr....ดูเลยครับ.....(สังเกตุรอบเอาครับ)


ลองกด.....O/D....ตอนวิ่งความเร็วที่ 80 ดูครับ....(สังเกตุการเปลี่ยนเกียร์ดูครับ)

เห็นพี่ๆบอกกันละเอียดแล้ว...เลยอยากให้แนะอีกวิธีหน ึ่งว่า...ลองดู...แล้วจะถึงบางอ้อ...ครับ...ผมเอง... ตอนแรกไม่กล้าใช้...กลัวๆกล้า...พอเล่นไปเล่นมา....ก ็เลยถึงบางอ้อ...อย่างนี้นี้เอง

ปล. บางครั้งผมเผลอกดปุ่ม O/D ไว้.......พอวันต่อมาพ่อเอารถไปใช้...ใช้ทั้งวันเลย. ..แถมก็ไม่รู้ด้วยว่า..รถวิ่งแค่ 3 เกียร์ทั้งวัน...จะสอนแก่ให้แก่รู้..แก่ก็บอกว่า...เ อ่อไม่เป็นไร...หรอกขับๆไปเถอะ...ขี้เกียจจำ.... :mad:

cpservice 28-09-2009 09:18

อ้างถึง:

กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ power357 (409822 กระทู้)
ลองกด....pwr....ดูเลยครับ.....(สังเกตุรอบเอาครับ)


ลองกด.....O/D....ตอนวิ่งความเร็วที่ 80 ดูครับ....(สังเกตุการเปลี่ยนเกียร์ดูครับ)

เห็นพี่ๆบอกกันละเอียดแล้ว...เลยอยากให้แนะอีกวิธีหน ึ่งว่า...ลองดู...แล้วจะถึงบางอ้อ...ครับ...ผมเอง... ตอนแรกไม่กล้าใช้...กลัวๆกล้า...พอเล่นไปเล่นมา....ก ็เลยถึงบางอ้อ...อย่างนี้นี้เอง

ปล. บางครั้งผมเผลอกดปุ่ม O/D ไว้.......พอวันต่อมาพ่อเอารถไปใช้...ใช้ทั้งวันเลย. ..แถมก็ไม่รู้ด้วยว่า..รถวิ่งแค่ 3 เกียร์ทั้งวัน...จะสอนแก่ให้แก่รู้..แก่ก็บอกว่า...เ อ่อไม่เป็นไร...หรอกขับๆไปเถอะ...ขี้เกียจจำ.... :mad:

เหมือนกับพ่อผมเลย กดโอดีทิ้งไว้ แล้วมาบ่นว่าเปลืองน้ำมัน ไฟโอดีก็มีบอกที่หน้าปัทม์แต่แกก็ไม่สนใจ
ผมตัดปัญหาโดยเอาเทปพันสายไฟพันทับสวิตช์โอดีที่คันเ กียร์ ไม่ให้กดใช้โอดีเลย จบเลยคราวนี้ ขับชมนกชมไม้ได้สบายใจ แหะๆ

อ้างถึง:

กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ ludwig_awsb (410329 กระทู้)
แล้ว power จะเปลืองน้ำมันขึ้นไหมครับ

เป็นสัจธรรมครับ
ลากรอบได้ยาวขึ้น
ก็ต้องเปลืองน้ำมันมากขึ้นด้วย
นานๆกดที หนุกๆครับ

nsr150 29-09-2009 22:19

แล้วรถที่ไม่มีสวิท Pwr Manu เลยมีผลเสียอะไรหรือไม่ครับ

zaji 29-09-2009 22:23

เปิด o/d ค้างไว้ คับ ละไล่เกียรฺเอา L 2 D ลากจนรอบตัดแล้วจะมันส์^^

ปล.ทำบ่อยๆเกียร์อาจจะลาโลกไวนะคับ:)

RedLine 29-09-2009 22:58

การทำงานของระบบ O/D นั้น

1.Overdrive On คือเปิดเกียร์ overdrive สุดท้ายก็ประมาณว่ามี 4 เกียร์เพื่อขับขี่ในช่วงความเร็วปกติ

2.Overdrive Off คือปิดเกียร์ overdrive อัตราทดจะเหลือ 3 เกียร์ ส่วนใหญ่จะบอกว่าใช้ตอนเร่งแซง แต่มีอีกข้อมูลอย่างคือมันเอาไว้ใช้ในช่วงขับขี่ไม่ป กติ
คือช่วงที่รถติดบ่อยๆ เช่นขับในเมืองรถต้องหยุดๆ วิ่งๆ ทำความเร็วบ่อยๆ การปิดเกียร์ O/D จะทำให้อัตราทดเปลี่ยนไปทำให้เครื่องมีกำลังในการเคล ื่อนออกตัวได้ดีกว่า ทำให้ช่วยประหยัดน้ำมันในสภาวะการขับขี่ในเมืองที่รถ ติดบ่อยๆ ครับ ลองกดใช้ดูครับจะรู้สึกได้เลยว่ามันออกตัวได้ดีกว่า

cpservice 30-09-2009 13:25

อ้างถึง:

กระทู้ต้นฉบับโดยคุณ nsr150 (411101 กระทู้)
แล้วรถที่ไม่มีสวิท Pwr Manu เลยมีผลเสียอะไรหรือไม่ครับ

มีหลายๆคันที่ไม่ต่อสวิตช์เพาเวอร์ตัวนี้
กล่องอีซียูก็จะปรับฟังก์ชั่นไว้ที่โหมดปกติอยู่แล้ว ครับ
ข้อเสียอย่างเดียวคือ ไม่สามารถเลือกโหมดเพาเวอร์ได้เวลาต้องการขับแบบกำลั งเท่านั้นเอง
ไม่ส่งผลเสียหายอะไรต่อเกียร์หรือเครื่องยนต์เลยแม้แ ต่น้อยครับ สบายใจได้


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 01:06

Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
ClubJZ. NET Bestview 1024 * 768 and 1208 * 1024 pixels