ClubJZ Forums

ClubJZ Forums (http://www.ClubJZ.net/index.php)
-   ClubJZ! Useful Information (http://www.ClubJZ.net/forumdisplay.php?f=14)
-   -   เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อยเกี่ยวกับ พรบ.รถยนต์ (http://www.ClubJZ.net/showthread.php?t=21229)

jahooy Mighty 1JZ 16-08-2008 02:05

เกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อยเกี่ยวกับ พรบ.รถยนต์
 
กระผมได้อ่านหนังสือ The Truck ฉบับ ส.ค.51 เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกเราไม่มากก็น้อย เลยนำเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางครับ เกี่ยวกับกฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์ เพื่อให้เพื่อน ๆ วัยรุ่น วัยมันส์ ขาซิ่งทั้งหลายได้รับรู้กันทั่วหน้ากันครับ เริ่มด้วยเรื่องของ
การใส่ Part (ชุดแต่งรอบคัน) รวมไปถึงชุดกันชนรอบคันด้วย ซึ่งกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากลักษณะของการต ิดตั้ง หากติดตั้งในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกา ย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ไม่ติดยื่น ติดยาวจนเกินไป และไม่มีส่วนหนึ่ง ส่วนใดเป็นสิ่งแหลมคม ยื่นออกมาทำร้ายให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ อันนี้ถือว่าไม่ผิดกฎหมายนะครับ แต่จะผิดกฎหมายก็ต่อเมื่อติดตั้งในลักษณะที่อาจก่อให ้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของผู้อื่น เช่น ติดยื่น ติดยาวจนเกินไป หรือมีลักษณะเป็นของแหลมคม จนมีคนเดินผ่านรถไปเฉี่ยวถูกทำร้ายให้ได้รับบาดเจ็บ
ต่อไปว่าด้วยเรื่อง กระจกมองข้างแต่งซิ่งทรงต่าง ๆ ซึ่งการติดกระจกมองข้างทรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะอันเล็ก อันใหญ่ ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย สามารถติดได้ เหตุผลเพราะ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 บัญญัติว่า รถยนต์ต้องมีและใช้เครื่องอุปกรณ์สำหรับรถดังต่อไปนี ้
- เครื่องมองหลัง เป็นกระจกเงา ติดอยู่ในที่ที่ผู้ขับรถ สามารถมองเห็นภาพการจราจรด้านข้าง และด้านหลังได้ทุกขณะอย่างชัดเจน
เนื่องจากไม่ได้กำหนดจำนวน หรือขนาดของเครื่องมองหลัง ดังนั้นจึงสามารถติดเพิ่มจากเดิมได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
อีกเรื่องกับเทรนด์ฮิต ไฟตัดหมอก ซึ่งขอบอกเอาไว้เลยนะครับว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็มีข้อกำหนดกฎเกณฑ์เอาไว้ไม่ให้เกินงามด้วยเช่นก ัน ดังนี้
1. สามารถติดได้ที่หน้ารถข้างละหนึ่งดวงอยู่ในระดับเดีย วกัน ใช้ไฟแสงขาว หรือแสงเหลือง
มีกำลังไฟเท่ากันไม่เกินดวงละ 55 วัตต์ สูงจากพื้นทางราบไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงฟุ่งไกล (ไฟสูง) และโคมไฟแสงพุ่งต่ำ (ไฟต่ำ) ศูนย์รวมแสงต้องอยู่ต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นทางราบไม่น ้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตรในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
2. ไฟตัดหมอกจะเปิดไฟ หรือใช้แสงสว่างได้เฉพาะในทางที่จะขับรถผ่าน มีหมอก ควัน หรือฝุ่นละอองจนเป็นอุปสรรค อันอาจเกิดอันตรายในขณะขับรถ และเมื่อไม่มีรถอยู่ด้านหน้าหรือสวนมาในระยะของแสงไฟ ดังนั้น สรุปว่า
1. การติดไฟตัดหมอก มีเงื่อนไขตาม ข้อ 1
2. การใช้ไฟตัดหมอก ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขตาม ข้อ 2
อีกหนึ่งเรื่องที่วัยรุ่นนั้นขาดไม่ได้เช่นกัน นั่นก็คือ ท่อไอเสีย รถยนยต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดท่อไอเสีย และปลายท่อด้านท้ายมีขนาดใหญ่กว่าปรกติ ซึ่งจะมีความผิดหรือไม่นั่นบอกได้เลยว่า ไม่ผิดครับ แต่สำคัญอย่าให้เสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ พอ คือ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
เรื่องนี้ก็สำคัญ และยังเป็นที่ค้างคาอยู่ในจิตใจของวัยรุ่นมาโดยตลอดก ับ การโหลดเตี้ย-ยกสูง ว่าที่ถูกกฎหมาย และผิดกฎหมายนั้นเป็นยังไง (ทำไมรถโหลดเตี้ยชอบโดนจับ แต่ทำไมรถ Off Road ยกสูงถึงไม่ค่อยโดนจับ) กล่าวเลย ก็คือ รถโหลดเตี้ย หรือรถยกสูง ไม่ผิดกฎหมาย เว้นแต่รถโหลดเตี้ย หากโหลดแล้ว มีผลต่อเนื่องไป ทำให้ส่วนอื่นของรถผิดกฎหมายไปก็จะถือว่ามีความผิดไป ด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดคือ การโหลดเตี้ยทำให้ระดับของไฟหน้ารถผิดไปจากเดิม ตามที่กฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์กำหนดไว้ ได้แก่ รถยนต์;ไฟหน้ารถถูกกำหนดให้สูงจากพื้นทางราบถึงจุดศู นย์กลาง
ดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.60 ม. แต่ไม่เกิน 1.35 ม. หากนำรถไปโหลดเตี้ยแล้ว ลองเอาไม้บรรทัดวัดดูว่าน้อยกว่า 0.60 ม. หรือไม่ หากน้อยกว่าก็ผิดกฎหมายครับ สำหรับรถยกสูงหากไฟสูงเกิน 1.35 ม. ก็ผิดกฎหมายพระราชบัญญัติรถยนต์เช่นเดียวกันครับ
เรื่องสุดยอดความนิยมติดลมบนกันไปแล้วกับ การเปลี่ยนเครื่องยนต์ ข้ามสายพันธุ์นู่นนี่มั่วไปกันหมด โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลในบ้านเราตอนนี้หนีไปวางเ ครื่องยนต์เบนซินติดแก๊สไว้ใช้งานกันจนหมดแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนใส่เครื่องยนต์ตัวใหม่เข้าไปนั้นไม่ว่ าจะเป็นเครื่องยนต์แบบมีเทอร์โบ หรือว่าไม่มีเทอร์โบ ก็ตามแต่จะผิดต่อกฎหมายอย่างไรนั่นก็ต้องให้นายทะเบี ยนกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ตรวจสภาพก่อน หากตรวจผ่านก็ไม่ผิดครับ ส่วนในเรื่องของการนำเครื่องยนต์ระบบต่าง ๆ มาติดตั้งเปลี่ยนแปลงระบบการเผาไหม้ใหม่มาเป็นการเผา ไหม้ด้วยก๊าซ หรือแก๊สชนิดต่าง ๆ เช่น LPG, CNG หรือ NGV ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง ซึ่งการติดตั้งระบบเผาไหม้ประเภทนี้จำเป็นจะต้องมีวิ ศวกรมารับรองการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซต่าง ๆ เพื่อยืนยันความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบจากวิศวกรแล้ว ทางวิศวกรผู้ตรวจจะเซ็นใบรับรองให้ จากนั้นนำใบรับรองดังกล่าว ประกอบกับ คู่มือจดทะเบียนรถยนต์ แล้วนำรถไปตรวจที่กรมการขนส่งทางบกอีกครั้ง เพื่อแจ้งใช้เชื้อเพลิงอื่นนอกจากน้ำมันเชื้อเพลิงที ่ใช้อยู่เดิม
เรื่องสุดท้ายกับสิ่งที่ไม่สามารถยั้งใจวัยรุ่นเอาไว ้ได้ นั่นก็คือ เรื่องของความเร็วสำหรับวัยรุ่นขาซิ่ง และ การตรวจจับความเร็ว ของทางเจ้าหน้าที่ในลักษณะที่ผิดกฎหมายนั้นก็ได้แก่
1. ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน
1.1 ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ระบุไว้โดยสรุปดังนี้
รถส่วนบุคคล รถเก๋ง รถแท๊กซี่ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน
- ใช้ความเร็วในเขต กทม.หรือ เขตเทศบาลได้ไม่เกิน 80 กม./ชม.
- ใช้ความเร็วนอกเขต กทม.หรือนอกเขตเทศบาล ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม.
- ซึ่งความเร็วดังกล่าวข้างต้นรวมถึงบนทางด่วนทุกขั้น (ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร) ด้วย
1.2 ยกเว้นทางมอเตอร์เวย์ มีกฎหมายระบุไว้เป็นการเฉพาะให้วิ่งได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. เหตุที่เป็นเช่นนี้เข้าใจว่า เพราะมอเตอร์เวย์เป็นทางในระดับพื้นราบ ไม่มีทางโค้ง หรือจุดที่เกิดอันตรายมาก และส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตรง ๆ ไม่ค่อยมีทางร่วมหรือทางเชื่อม ทำให้รถสามารถใช้ความเร็วได้มากอย่างปลอดภัย แต่บนทางด่วน มีทางเชื่อม ทางขึ้นลง ทางแยก รวมทั้ง มีทางโค้ง โค้งหักศอก เป็นทางยกระดับ ทางลาดชัน อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากใช้ความเร็วสูง ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นบ่อย ๆ กรณีรถเกิดอุบัติเหตุแล้ว ตกลงจากทางด่วนลงมาพื้นราบ ทำให้คนที่ไม่มรู้เรื่องรู้ราวด้านล่างตายไปหลายกรณี แล้ว
1.3 กรณีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้น ส่วนใหญ่จะบังคับใช้ หรือเข้มงวดกับรถที่ขับรถเร็วจนผิดปกติ หรือใกล้จุดที่น่าจะเกิดอันตราย เช่น แหล่งชุมชน เป็นต้น และจะมีการใช้เครื่องเรดาห์ ในการตรวจจับโดยเครื่องดังกล่าว ได้รับการรับรองความมาตรฐานจากกองทัพอากาศ เป็นระยะ ๆ เพื่อกันปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนทางด่วนจะมีการเรียกตรวจจับที่คว ามเร็วเกินกว่า 110 กม./ชม. โดยผู้ขับขี่จะถูกเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่รถ และออกใบแทน (ใบสั่ง) ให้รับไป ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษไว้ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนจะปรับไม่เกิน 500 บาท แต่จะถูกยึดใบขับขี่ตามมาตรการบันทึกคะแนน ไว้ 15 วัน หลังจากนั้น มารับใบขับขี่คืนได้ที่โรงพักที่เราเสียค่าปรับ ปกติการจับกุมผู้ขับขี่รถเร็วกว่า กม.กำหนดก็ได้ทำเป็นเหตุการณ์ประจำวันอยู่แล้ว แต่บาง สน.ไม่มีพื้นที่ให้จับเนื่องจากไม่มีระยะทางไกล ๆ ในการยิงด้วยเครื่องตรวจจับ เฉลี่ยเดือนละประมาณ 1,000 ราย การขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. อาจดูช้าไปบ้างในเขตกรุงเทพฯ แต่เป็นความเร็วที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะลดความรุนแร งของการบาดเจ็บได้ รวมทั้งเป็นความเร็วที่ประหยัดน้ำมัน ในยุคพลังงานเชื้อเพลิงมีราคาแพง ส่วนผลต่างของเวลาระหว่าง 90 กม./ชม. กับ 110 กม./ชม. จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก
--------------------------------------
ขอขอบคุณ ที่มา หนังสือ The Truck ฉบับ ส.ค.51
JZ_M-109

++ตั้ม++ 16-08-2008 08:17

ผมเคยเถี่ยงกับหัวปิงปองมาแล้ว
 
ผมใช้มานานแล้วไม่ได้ผลหรอก ทำอารายทุกอย่างต้องแจ้งขนส่งอนุญาติก่อนครับ สุดท้ายต้องยอมเรื่องการโหลดเตี้ย ตอนแรกพูดไปได้ผลแฮะมันเงียบ มันถามกับมาว่าแจ้งขนส่งยังโหลดอ่ะ
ยอมเลย สุดท้ายจ่ายตัง 100 ไปได้แฮะๆๆ


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:47

Powered by vBulletin รุ่น 3.6.8 Copyright ©2000-2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
ClubJZ. NET Bestview 1024 * 768 and 1208 * 1024 pixels